เว็บ

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

                                                     ความซื่อสัตย์ ( Integrity )
      ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจการที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นเราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อนแท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอกแต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้วเพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นไม่ได้ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเองธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่นคือ ต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อนคนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำโดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเองถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่นคนฟังยิ่งมากยิ่งดีถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอนแต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน    เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลยการจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ นี่เอง การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อนเมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นที่ตามที่เราอยากให้ทำได้ การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตนเพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วยการจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยังด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อนหากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง 

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

มงคลสูตรคำฉันท์

      

มงคลสูตรคำฉันท์        พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับมงคลสูงสุด ไว้ ๓๘ ประการ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทคำฉันท์มีลักษณะเด่นทางวรรณศิลป์ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ แม้จะมีศัพท์บาลีอยู่บ้างก่อนนอนคืนนี้น้อมสิ่งดีใส่กมลสวดสูมงคลไม่อับจนในชีวา ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2466 ฉันทลักษณ์แต่งเป็นคำฉันท์ คำฉันท์ ประกอบด้วย กาพย์ฉบังและอินทรวิเชียรฉันท์ในเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ จะแทรกคาถาบาลี
ผู้แต่ง         พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์
         กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
         เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
เนื้อเรื่องย่อย          พระอานนท์ เป็นผู้เล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวันวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ตอนปฐมยาม มีเทวดารัศมีเจิดจ้ามาเข้าเผ้าพระพุทธองค์ ทูลถามถึงเรื่องมงคลพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาถึงมงคล ๓๘ ประการ เทวดาและมนุษย์ผู้ปฎิบัติตาม จะเป็นผู้ประเสริฐ ไม่แพ้ในที่ใดๆได้รับความเจริญสวัสดีทุกประการ
มงคล ๓๘ ประการ เทียบกับคำฉันท์ ได้ดังนี้
         ๑. ไม่คบคนพาล/๑. หนึ่งคือ บ่ คบคนพาล จะพาประพฤติผิด
         ๒. คบบัณฑิต/๒. หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
         ๓. บูชาผู้ที่ควรบูชา/๓. หนึ่งกราบก่อนบูชา  อภิปูชนีย์ชน
         ๔. อยู่ในประเทศอันสมควร/๔. ความอยู่ประเทศซึ่ง  เหมาะและควรจะสุขี
         ๕. เคยทำบุญไว้กาลก่อน/๕. อีกบุญญะการที่  ณ อดีตะมาดล
         ๖. ตั้งตนไว้ชอบ/๖. อีกหมั่นประพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
        ๗. สดับตรับฟังมาก/๗. ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
        ๘. มีศิลปะ/๘. อีกศิลปศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
        ๙. มีวินัย/๙.  อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
        ๑๐.มีวาจาเป็นสุภาษิต/๑๐. อีกคำเพราะบรรสาน  ฤดิแห่งประชาชน
        ๑๑.บำรุงมารดาบิดา/๑๑. บำรุงบิดามา-ตุระด้วยหทัยปรีย์
        ๑๒.สงเคราะห์บุตร/๑๒. หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
        ๑๓.สงเคราะห์ภรรยา/๑๓. หากลูกและเมียมี  ก็ถนอมประหนึ่งตน
        ๑๔.การงานไม่คั่งค้างอากูล/๑๔. การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน
        ๑๕.ให้ทาน/๑๕. ให้ทาน ณ กาลควร
        ๑๖.ประพฤติธรรม/๑๖. และประพฤติ  สุธรรมศรี
        ๑๗.สงเคราะห์ญาติ/๑๗. อีกสงเคราะห์ญาติ  ที่ปฏิบัติบำเรอตน
        ๑๘.ประกอบการงานไม่มีโทษ/๑๘. กอบกรรมะอันไร้  ทุษกลั้วและมัวมล
        ๑๙.เว้นจากบาป/๑๙. ความงดประพฤติบาป  อกุศลบ่ให้มี
        ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา/๒๐. สำรวมวรินทรีย์  และสุราบ่เมามล
        ๒๑.ไม่ประมาทในธรรม/๒๑. ความไม่ประมาท  ในพหุธรรมะโกศล
        ๒๒.เคารพ/๒๒.เคารพ ณ ผู้ควร  จะประณตและนอบศีร์
        ๒๓.สงบเสงี่ยมเจียมตัว/๒๓. อีกหนึ่งมิได้มี  จะกระด้างและจองหอง
        ๒๔.ยินดีด้วยของของตน(สันโดษ) /๒๔. ยินดี ณ ของตน  บ่มิโลภทะยานปอง
        ๒๕.รู้คุณท่าน/๒๕. อีกรู้คุณาของ นรผู้ประคองตน
        ๒๖.ฟังธรรมตามกาล/๒๖. ฟังธรรมะโดยกา-ละเจริญคุณานนท์
        ๒๗.อดทน /๒๗. มีจิตตะอดทน และสถิต ณ ขันตี
        ๒๘.ว่าง่าย/๒๘. อีกนัยหนึ่งบ่พึงมี ฤดิดื้อทะนงหาญ
        ๒๙.เห็นสมณะ/๒๙. หนึ่งเห็นคณาเลิศ สมณาวราจารย์
        ๓๐.สนทนาธรรมตามกาล/๓๐. กล่าวธรรมะโดยกาล  วรกิจจะโกศล
        ๓๑.บำเพ็ญตบะ (ความเพียร)/๓๑. เพียรเผากิเลสล้าง  มละโทษะยายี
        ๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์/๓๒. อีกหนึ่งประพฤติดี  ดุจะพรหมพิสุทธิ์สรรพ์
        ๓๓.เห็นอริยสัจ/๓๓. เห็นแจ้ง ณ สี่องค์  พระอรียสัจอัน
        ๓๔.ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน/๓๔. อีกทำพระนิพพา-  นะประจักษะแก่ตน
        ๓๕.จิตไม่หวั่นไหวเมื่อต้องโลกธรรม/๓๕. จิตใครผิได้ต้อง วรโลกะธรรมศรี
        ๓๖.จิตไม่เศร้าโศก/๓๖. ไร้โศกธุลีสูญ
        ๓๗.จิตปราศจากธุลี/๓๗. ไร้โศกธุลีสูญ
        ๓๘.จิตเกษม(ปลอดโปร่งจากกิเลส) /๓๘. และสบายบ่มัวมล
แนวคิดสำคัญ         ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิเกิดจากการประพฤติปฏิบัติของตนเองทั้งสิ้นหาได้เกิดจากผู้อื่นสิ่งอื่นหรือวัตถุโชคลางใดๆ จากภายนอกมงคล หมายถึง เหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงเหตุแห่งความเจริญหรือทางก้าวหน้า มีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลสูตรเป็นพระสูตรในขุททนิกาย หมวดขุททกปาฐ พระธรรมเล็กๆ น้อยๆ
คุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน         ๑. ได้ทราบวิธีปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
         ๒. มีคุณค่าทางด้านสังคม เพราะข้อปฏิบัติทุกข้อในมงคลสูตรล้วนมีค่าควรประพฤติปฏิบัติซึ่งจะทำให้บุคคลและสังคมเจริญก้าวหน้า
         ๓. ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ
ค่านิยม        มงคลทั้ง ๓๘ ประการ ล้วนเป็นค่านิยมทางพระพุทธศาสนา ค่านิยมสูงสุดทางพระพุทธศาสนา  คือ นิพพาน การดับพร้อมไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป